ประโยชน์การเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

1. ประโยชน์ต่อบริษัท
แหล่งระดมเงินทุนระยะยาว

บริษัทสามารถระดมทุนจากประชาชนเพื่อนำไปใช้ เป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือขยายธุรกิจได้โดยง่ายและรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน รวมทั้งช่วยให้มีโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมต่อการดำเนินกิจการ นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสในการเลือกระดมทุนผ่านการออกหลักทรัพย์ประเภทอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นภายหลังการเข้าจดทะเบียน เช่น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นต้น


ภาพลักษณ์
การเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในฐานะที่บริษัทได้ผ่านการพิจารณาจาก สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานที่ดี และมีฐานะมั่นคงในระดับหนึ่ง รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส ภาพลักษณ์ที่ดีนี้จะก่อให้เกิดคุณประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของบริษัท เช่น ความน่าเชื่อถือ อำนาจในการต่อรอง และสร้างความตระหนักตลอดจนความนิยมในผลิตภัณฑ์/บริการของกิจการโดยทางอ้อม นอกจากนี้การเผยแพร่ข่าวสารและความเคลื่อนไหวของบริษัทผ่านสื่อต่าง ๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และภาคธุรกิจ ล้วนเป็นสิ่งที่สามารถเกื้อกูลต่อกิจการของบริษัทให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของสาธารณชนมากยิ่งขึ้น คุณประโยชน์นี้หากสามารถตีค่าเป็นตัวเงินแล้วย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายมูลค่ามหาศาลสำหรับคู่แข่งที่มิได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะต้องใช้ในการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของสาธารณชน


จุดเริ่มต้นในการเชื่อมโยงหรือขยายธุรกิจกับธุรกิจต่างประเทศ
ในยุคโลกาภิวัฒน์การประกอบธุรกิจระหว่างประเทศได้ทวีความสำคัญมากขึ้น การมีแนวร่วมโดยเฉพาะแนวร่วมจากกิจการในต่างประเทศที่สามารถเกื้อกูลระหว่างกันทั้งในด้านการตลาด การผลิต เทคโนโลยี การเงิน และบุคลากร ย่อมส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน การเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และเป็นแรงจูงใจให้เกิดความสนใจในการเข้าร่วมลงทุนจากธุรกิจต่างชาติซึ่งจะเกื้อหนุนให้เกิดการขยายตัวทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องและสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่บริษัทมากยิ่งขึ้น


การสร้างความรับผิดชอบและการบริหารแบบมืออาชีพ
การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้บริษัทบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรัดกุมมากขึ้นเนื่องจากบริษัทจะอยู่ในความสนใจของผู้ลงทุนโดยมีราคาหุ้นของบริษัทเป็นตัวสะท้อนความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อกิจการในระดับหนึ่ง ในขณะเดียวกันการเข้าจดทะเบียนก็จะเป็นเครื่องมือ ในการกำกับดูแลการบริหารกิจการให้เป็นไปในทิศทางที่ควรจะเป็น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพตลอดจนเพิ่มพูนประสิทธิผลในการประกอบธุรกิจอันจะเป็นผลประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทโดยรวม


ความภาคภูมิใจของบุคลากรของบริษัท
คุณประโยชน์ที่สำคัญประการหนึ่งที่มักจะถูกมองข้ามจากการที่บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ ความภาคภูมิใจของพนักงานของบริษัท โดยหากบริษัทนั้นมีผลประกอบการและภาพลักษณ์ที่ดีมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และรู้จักกันอย่างแพร่หลายย่อมทำให้บุคลากรของบริษัทเกิดความรู้สึกที่ดีต่อบริษัท หากผู้บริหารรู้จักใช้สิ่งนี้ให้เป็นประโยชน์โดยการสร้างความยึดมั่นหรือค่านิยมร่วม ( shared value) ให้เกิดขึ้นในลักษณะของการกระตุ้นให้บุคลากรทุกฝ่ายได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมต่อการสร้างชื่อเสียงและเกียรติคุณของบริษัท คุณประโยชน์อันมหาศาลย่อมจะเกิดขึ้นกับบริษัทในระยะยาว


สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินปันผล
บริษัทจดทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนไปถือหุ้นของบริษัทอื่นที่จัดตั้งตามกฎหมายไทยหรือกองทุนรวม หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทอื่นดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ โดยไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้มารวมเป็นรายได้ของบริษัทเพื่อเสียภาษี แต่เงินที่ได้รับดังกล่าวต้องเป็นเงินที่ได้รับจากหุ้นหรือหน่วยลงทุนที่ถือไว้ไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อน และหลังวันที่ได้รับเงินได้


2. ประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น



เสริมสร้างสภาพคล่อง

การเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท เนื่องจากผู้ถือหุ้นสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือหรือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้สะดวก และง่ายในเวลาที่ต้องการตลอดจนทราบมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นตามความต้องการของตลาด และใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมได้


ความคุ้มครองในการลงทุน
ผู้ถือหุ้นจะได้รับความคุ้มครองในการลงทุน เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ฯ มีกฎระเบียบในการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์ และการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น ตลอดจนให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องพอเพียงทันเวลา และเท่าเทียมกัน


สิทธิประโยชน์ทางภาษี
บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ดังนี้

เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี

ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินปันผลจากบริษัทจดทะเบียนจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% โดยผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทย มีสิทธิที่จะเลือกดำเนินการดังนี้
ไม่นำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เฉพาะผู้มีเงินได้ที่ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้คืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ
นำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โดยจะได้รับการเครดิตภาษีคืนในภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น ผู้มีเงินได้จะได้รับการเครดิตภาษี 3 ใน 7 ของเงินปันผลที่ได้รับในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้นได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 30 % (มูลค่าของการเครดิตภาษีสามารถคำนวณได้จากสูตร X/(100 - x) โดย x คืออัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทได้เสียอยู่ )



Web Goodness----GTA VC Lan ---- GTA San Andreas --- Internet Cafe ---Watch Live TV ---- Downloads ---Business Loan

ETF

Equity ETF: นวัตกรรมทางการเงิน คือ กองทุนรวมประเภทกองทุนเปิด ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เสมือนหุ้น ผู้ลงทุนสามารถส่งคำสั่งซื้อ คำสั่งขายผ่าน โบรกเกอร์ได้เหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไป และเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เน้นการสร้างผลตอบแทนให้เท่ากับดัชนีอ้างอิง อาทิเช่น ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคาหุ้น SET50 ดัชนีราคาตราสารหนี้ เป็นต้น


การลงทุนใน Equity ETF ในตลาดหลักทรัพย์สำคัญๆ ในต่างประเทศได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีสภาพคล่องจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นเสมือนการลงทุนในหุ้นที่เป็น องค์ประกอบของการคำนวณดัชนีทั้งหมด ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ขณะเดียวกันก็ยังให้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล (dividend) และส่วนต่างราคา (capital gain) แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน


ความเป็นมาของ Equity ETF ในประเทศไทย

ลักษณะของ Equity ETF เป็นการรวมจุดเด่นของกองทุนและหุ้นไว้ด้วยกัน ทำให้ Equity ETF กลายเป็นหลักทรัพย์ที่มีบทบาทสร้างจุดสนใจให้กับผู้ลงทุน พร้อมกับช่วยสร้างสภาพคล่องของการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ให้มากขึ้น ข้อดีเหล่านี้ทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นคุณค่าของการผลักดัน Equity ETF กองแรกในประเทศไทยให้เกิดขึ้นในปี 2550


กลุ่มสถาบันการเงินที่ได้รับคัดเลือกเข้ามาร่วมลงทุนและบริหารจัดการ Equity ETF ประกอบด้วย บริษัทที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการกองทุน พร้อมทั้งสถาบันการเงินอื่นที่เข้ามาเป็นผู้ร่วมสนับสนุนซื้อขายและค้าหน่วยลงทุน ซึ่งมีชื่อเรียกทางการว่าผู้ร่วมค้าหน่วย (Participating dealers หรือ PDs)


นอกจากจะมีผู้ร่วมสนับสนุนซื้อขายและค้าหน่วยลงทุนแล้ว ยังจะต้องมีผู้ดูแลตลาด ให้มีความผันผวนน้อยที่สุด และสามารถตอบสนองต่อปริมาณความต้องการลงทุนของนักลงทุนให้ได้มากที่สุด ซึ่งเรียกว่าผู้ดูแลสภาพคล่อง (market maker)


สินค้าอ้างอิง (Underlying Asset) ของ Equity ETF


Equity ETF กองแรกของประเทศไทยใช้ดัชนีราคาหุ้น SET50 เป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ผู้จัดการกองทุนจะรวบรวมเงินลงทุนจากกลุ่มผู้ร่วมลงทุนไปซื้อหุ้นในกลุ่ม SET50 โดยมีวัตถุประสงค์การลงทุนให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีราคาหุ้น SET50 มากที่สุด ดังนั้นพอร์ตการลงทุนจึงประกอบไปด้วยหุ้น 50 ตัวที่มีพื้นฐานดี มีมูลค่าตามราคาตลาด (market capitalization) อยู่ในระดับสูง และเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของนักลงทุน มีการหมุนเวียนของการ ซื้อขายโดยตลอด หรือมีสภาพคล่องสูง


การซื้อขาย Equity ETF ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การซื้อขาย Equity ETF ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็คือ การซื้อขายผ่านตลาดรอง โดยมีขั้นตอน ดังนี้



  1. ถ้าผู้ลงทุนต้องการซื้อหน่วยลงทุน Equity ETF ผู้ลงทุนสามารถส่งคำสั่งซื้อหรือขายให้กับโบรกเกอร์
  2. โบรกเกอร์ส่งคำสั่งซื้อของผู้ลงทุนต่อไปยังตลาดหลักทรัพย์
  3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จัดการกับคำสั่งซื้อขายด้วยวิธีจับคู่อัตโนมัติของระดับราคาซื้อขาย เช่นเดียวกับวิธีการซื้อขายหุ้นบนกระดาน
  4. บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบชำระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์ให้ผู้ลงทุน








โดย ฝ่ายพัฒนาเนื้อหาและหลักสูตร
สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI)







Web Goodness----GTA VC Lan ---- GTA San Andreas --- Internet Cafe ---Watch Live TV ---- Downloads ---Business Loan

ประวัติความเป็นมาของตลาดอนุพันธ์

ประวัติความเป็นมาของตลาดอนุพันธ์
ธุรกรรมอนุพันธ์ในประเทศไทยได้มีการดำเนินการมาเป็นระยะเวลานานแล้ว โดยเป็นไปในลักษณะของการตกลงระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง ซึ่งมักเป็นการตกลงของธนาคารพาณิชย์กับผู้ประกอบการที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน จากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย ธุรกรรมเหล่านี้จึงมักจำกัดอยู่ภายในกลุ่มของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแลกิจกรรม ที่ธนาคารพาณิชย์ในการเสนอบริการด้านอนุพันธ์
ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ผ่านการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและมีผลบังคับใช้แล้ว ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักของตลาดทุนไทย ได้จัดตั้งบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ Thailand Futures Exchange (TFEX) ขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 โดยมีเงินทุนประกอบการเริ่มต้นที่ 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเป็นศูนย์กลางการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรืออนุพันธ์ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โดยตลาดอนุพันธ์ได้รับใบอนุญาตประกอบการ เป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548


พัฒนาการที่สำคัญของตลาดอนุพันธ์


• 28 เมษายน 2549

เปิดดำเนินการซื้อขาย โดยมี SET50 Index Futures เป็นสินค้าตัวแรก


• 28 สิงหาคม 2549

เริ่มให้ซื้อขาย SET50 Index Futures ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต


• 18 กันยายน 2549

แต่งตั้งผู้ดูแลสภาพคล่องสำหรับ SET50 Index Futures


• 9 เมษายน 2550

ลงนามบันทึกความร่วมมือกับตลาดอนุพันธ์ไต้หวัน (Taiwan Futures Exchange: TAIFEX)


• 3 กันยายน 2550

เริ่มให้ซื้อขายผ่านช่องทาง Direct Market Access (DMA)


• 29 ตุลาคม 2550

เปิดซื้อขาย SET50 Index Options เป็นสินค้าลำดับที่สอง


• 16 พฤษภาคม 2551

ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกับ Chicago Board Options Exchange (CBOE)


• 5 กันยายน 2551

ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกับ The Options Industry Council (OIC)


• 24 พฤศจิกายน 2551

เปิดซื้อขาย Stock Futures เป็นสินค้าลำดับที่สาม


• 2 กุมภาพันธ์ 2552

เปิดซื้อขาย Gold Futures เป็นสินค้าลำดับที่สี่
Top
ลักษณะการดำเนินงาน
บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ เป็นศูนย์กลางการซื้อขายอนุพันธ์เกี่ยวกับตราสารทุน ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่นๆ ภายใต้พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานกำกับดูแล สินค้าที่สามารถจัดให้มีการซื้อขายได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คือ ฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชั่น (Options) และออปชันบนสัญญาฟิวเจอร์ส (Options on Futures) ของสินทรัพย์อ้างอิงประเภทต่าง ๆ ได้แก่
อ้างอิงกับตราสารทุน ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หลักทรัพย์
อ้างอิงกับตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ย
อ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาอื่นๆได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ อัตราแลกเปลี่ยน
ตลาดอนุพันธ์มีเป้าหมายหลักในการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นให้เกิดคุณค่าและประโยชน์แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
เป็นศูนย์กลางการซื้อขายอนุพันธ์ที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการในธุรกิจสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง (Hedging Instruments) ในการบริหารเงินลงทุนและธุรกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีต้นทุนที่สมเหตุสมผล
เป็นทางเลือกของการลงทุน ภายใต้ระบบการซื้อขายที่มีความยุติธรรม โปร่งใส และมีสภาพคล่อง รวมทั้งมั่นใจในระบบการชำระราคาสำหรับทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นในตลาดอนุพันธ์ที่จะมีสำนักหักบัญชีที่มีความมั่นคงเป็นคู่สัญญา
ให้ผู้ลงทุนมีแหล่งข้อมูลที่สะท้อนความคาดหวังของผู้ที่อยู่ในตลาดที่มีต่อราคาหลักทรัพย์ในอนาคต ส่งผลให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการสามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Top
จรรยาบรรณของตลาดอนุพันธ์เพื่อดำรงไว้ซึ่งความไว้วางใจของสาธารณชน บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ จึงกำหนดข้อพึงปฏิบัติไว้ให้กรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงานบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ยึดถือเพื่อเป็นหลักการและคุณธรรมประจำใจในการปฏิบัติงาน โดยมีหัวข้อ ดังนี้

• ข้อพึงปฏิบัติทั่วไป


o ข้อพึงปฏิบัติต่อตนเอง
o ข้อพึงปฏิบัติต่อผู้ลงทุน ผู้ใช้บริการ ผู้เกี่ยวข้อง และสาธารณชน
o ข้อพึงปฏิบัติต่อองค์กร

• ข้อพึงปฏิบัติระหว่างพนักงาน
• ข้อพึงปฏิบัติเมื่อมีปัญหา

ที่มา TFEX ( www.tfex.co.th )

Web Goodness----GTA VC Lan ---- GTA San Andreas --- Internet Cafe ---Watch Live TV ---- Downloads ---Business Loan

ตราสารหนี้

ตราสารหนี้ เป็นตราสารการเงินที่เป็นสัญญาแสดงความเป็นหนี้ระหว่างผู้ออก และผู้ถือตราสารหนี้ (หรือที่เรียกว่า “ผู้ลงทุน” ) ตราสารหนี้ต้องมีกำหนดอายุและอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นใดเป็นจำนวนที่แน่นอน โดยระบุวันที่ชำระดอกเบี้ยและเงินต้นล่วงหน้าตั้งแต่เมื่อออกตราสารนั้น และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนดอายุ รวมถึงวันไถ่ถอน นอกจากนี้ ตราสารหนี้ยังสามารถซื้อขายโอนเปลี่ยนมือกันได้




ผู้ออกตราสารหนี้คือผู้กู้เงินจากผู้ที่ซื้อตราสารหนี้ ดังนั้น ผู้ออกจึงเป็น “ลูกหนี้” ในขณะที่ผู้ซื้อ คือ “ผู้ให้กู้” หรือ “ เจ้าหนี้” นั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากตราสารทุนหรือหุ้นสามัญที่ผู้ถือตราสารทุนนั้นจะลงทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น และมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ ไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้

ตราสารหนี้ เป็นคำศัพท์กว้างๆ แต่ที่ท่านอาจคุ้นเคยมากกว่า คือ “พันธบัตร” และ “หุ้นกู้” โดยพันธบัตรมักใช้เรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ส่วนหุ้นกู้จะถูกเรียกใช้เมื่อออกโดยบริษัทเอกชน ในต่างประเทศจะใช้คำว่า “Bond” สำหรับตราสารหนี้ทั่วไปทั้งที่ออกโดยรัฐบาลและเอกชน แต่จะมีในบางกรณีที่อาจจะเรียกว่า “Debenture” เมื่อตราสารหนี้นั้นไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

นักลงทุนสามารถซื้อขายตราสารหนี้ได้ที่ตลาดตราสารหนี้ ( Bond Electronic Exchange: BEX) ซึ่งเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไปตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา ด้วยระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์ นำเสนอข้อมูลที่โปร่งใส ตลอดจนถึงกระบวนการส่งมอบและชำระราคาที่เชื่อถือได้ เพื่อที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณการซื้อขาย คุณภาพของตราสารหนี้ ตัวกลางการซื้อขาย แหล่งข้อมูลอ้างอิง รวมถึงการขยายขอบเขตการพัฒนาให้กว้างขวางขึ้น และครอบคลุมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยทั้งหมด เพื่อให้รองรับต่อแนวนโยบายของภาครัฐในเรื่องตลาดพันธบัตรแห่งเอเชีย โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตลาดรองตราสารหนี้ที่สมบูรณ์แบบของประเทศไทย ซึ่งสามารถให้บริการครอบคลุมผู้ลงทุนและผู้ค้าตราสารหนี้ทั้งหมด

ที่มา http://www.set.or.th

Web Goodness----GTA VC Lan ---- GTA San Andreas --- Internet Cafe ---Watch Live TV ---- Downloads ---Business Loan

ตราสารทุน (Equity Instruments)

ตราสารทุน (Equity Instruments) เป็นตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือ (Holder) เพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ถือตราสารทุนจะมีฐานะเป็น “เจ้าของกิจการ” รวมทั้งมีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของกิจการ และมีโอกาสจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล (Dividend) อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีข้อผูกพันว่ากิจการที่ออกตราสารทุนจะต้องจ่ายเงินปันผลเสมอไป ทั้งนี้ การตัดสินใจจ่ายเงินปันผลจะขึ้นอยู่กับผลกำไรและข้อตกลงของธุรกิจนั้นๆ

นักลงทุนสามารถซื้อขายตราสารทุนได้ในตลาดหลักทรัพย์ 2 แห่งคือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand - SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment - mai) ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับบริษัทจดทะเบียนว่าจะเลือกเข้ามาระดมทุนและจดทะเบียนซื้อขายในตลาดใด (รายละเอียดการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET)

โดยทั่วไปแล้ว ตราสารทุนที่พร้อมจะให้นักลงทุนเข้ามาซื้อขายจะมีหลากหลายประเภทดังต่อไปนี้


ประเภทตราสารทุน

หุ้นสามัญ (Common Stock)
เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่


หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
เป็นตราสารประเภทหุ้นทุนที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ

ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือวอแรนท์ (Warrant)
เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Asset) ตามราคาใช้สิทธิ ( Exercise Price) จำนวนที่ให้ใช้สิทธิ (นิยมใช้เป็นอัตราส่วน) และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

หน่วยลงทุน (Unit Trust)
หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้นลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น



ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย หรือ เอ็นวีดีอาร์ (Non - Voting Depositary Receipt : NVDR)
เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ ( Automatic List) และมีหลักทรัพย์อ้างอิง ( Underlying Asset ) เป็นหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depository Receipt : DR)
เป็นตราสารที่ออกและเสนอขายโดยบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เป็นหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิอ้างอิงอาจเป็นได้ทั้งหุ้นสามัญ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ลงทุนที่ถือ DR จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกประการ



หลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ SET และ mai (ณ วันที่ 1 พ.ย. 2550)


ที่มา http://www.set.or.th/







Web Goodness----GTA VC Lan ---- GTA San Andreas --- Internet Cafe ---Watch Live TV ---- Downloads ---Business Loan

What are unit Trusts

What are unit Trusts


It is money committed by investors into financial assets or equity, whereby returns produced are apportioned according to money invested. The fund is managed by an asset management company licensed by the Finance Ministry, according to each fund’s investment policy and objectives which in turn must also receive endorsement by the Securities and Exchange Commission (SEC). The asset management company will have fund prospectuses available to investors which provide information on the fund which they could review before making a decision to invest. The fund would appoint a Trustee, not associated with the asset management company, to represent the unitholders and protect their interests. A Registrar handles the records of unitholders and their benefits, while an accredited auditor reviews the accounts and assets of the fund.

Unitholders can therefore be assured that money invested in the fund is deployed as stated in the investment policy and objectives of the fund outlined in the prospectus. This ensures the unitholders’ aims are being matched and optimizes the returns that is expected from picking the chosen fund. Additionally, the fund itself is a legal entity separate from the asset management company.

Risks to the Investor

Most investors tend to view risks as mostly involving potential losses on the principal amount invested. But there are other types of risks as well and all types of investments contain a certain amount of risk, although in varying degrees. Investments with higher risks tend to offer the attraction of better returns. Likewise, those with lower risks will normally provide lower returns.

Main Types of Investment Risks Include


Risks Stemming from External Factors (Pervasive Risk)
Risks caused by external factors are uncontrollable and would include factors such as economic conditions, political environment, or changes in interest rates.


Risks Involving the Underlying Company (Company Risk)
Share price of companies may be affected by issues specific to the company such as financial performance or by changes to the overall business climate of that industry.


Credit Risk or Default Risk
Is the financial ability of the company issuing the debt instrument to meet interest payment obligations as well as the principal amount when the debt is due. Any inability to meet payment schedules may cause losses to the fund which has invested in the debt instrument.


Interest Rate Risk
Interest rate risks are caused by changes in prevailing interest rates in the market which may subsequently impact the price of the debt instrument. When market rates fall, the prices of bonds or debentures have a tendency to increase. Similary, increases in market rates have the effect of depressing bond or debenture prices. For example when prevailing interest rates in the market rises, a seller wishing to offer bonds and debentures for sale would need to lower the selling price in order to offer an attractive yield commensurate with recent rises in market interest rates. As such, a loss occurs.


Income Risk
Income risk refers to the potential for income or returns to fall, if market interest rates decline and money was placed in bank deposits or promissory notes. This does not affect the value of the principal.


Liquidity Risk
Liquidity risk refers to the ease of transacting the securities in the market. Investment in securities with low trading liquidity hinders the ability to sell them when desired as there may be few potential buyers or they may require a lower price.


Country Risk
Investments deployed in any particular country may be impacted by events specific to that country such as appointment of new prime minister, change of policy, etc. which could have a bearing on debt payment obligations or restrict the inflow/outflow of money.


Web Goodness----GTA VC Lan ---- GTA San Andreas --- Internet Cafe ---Watch Live TV ---- Downloads ---Business Loan

การวางแผนทางการเงิน

ทุกคนทราบว่าการลงทุนสำหรับแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกัน คนในแต่ละช่วงอายุย่อมมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนที่ต่างกันด้วย กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจความต้องการและแนวทางการวางแผนการลงทุนของคนต่างวัยและต่างสถานะ โดยอาจนำมาปรับให้เหมาะกับรูปแบบการลงทุนของคุณให้มากขึ้น



1.1 หนุ่มสาวในวัย 25
เป็นช่วงอายุที่อยู่ในวัยเริ่มต้นการทำงาน กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว และ ยังไม่มีค่าใช้จ่ายประจำมากนัก ดังนั้น หากเริ่มการลงทุนเพื่อไว้ใช้จ่ายและใช้ยามเกษียณตั้งแต่ช่วงวัยนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุน มากขึ้น เนื่องจากวัยนี้ถือว่าเป็นวัยที่เพิ่งเริ่มต้นและยังมีระยะเวลาในการทำงานเพื่อออมเงินอีกนาน จึง ควรจะสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้สูงที่สุด หากเทียบกับคนที่มีรายได้ในระดับเดียวกันแต่อายุ สูงแล้ว

ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสให้เงินลงทุนเพิ่มมูลค่าได้มากขึ้น จึงอาจที่จะจัดสรรการลงทุนในสินทรัพย์ ประเภทหุ้น ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงได้มากขึ้น

1.2 คู่แต่งงานที่มีรายได้ทั้งคู่ที่อยู่ในวัย 40
เป็นช่วงอายุที่ควรต้องให้ความสำคัญแก่วัตถุประสงค์ระยะยาวเป็นหลัก ซึ่งหมายถึงการเริ่มดำเนิน การวางแผนการลงทุนเพื่อรองรับการใช้จ่ายยามเกษียณ และ ค่าใช่จ่ายสำหรับการศึกษาบุตร (ในกรณี ที่มีบุตร) เนื่องจากถือว่าได้ทำงานเก็บเงินมาพอสมควรแล้ว ในขณะเดียวกันก็ยังต้องการให้เงินลงทุน เพิ่มมูลค่าเพื่อไว้ใช้จ่ายด้วย

ดังนั้น แผนการลงทุนอาจต้องลดความเสี่ยงลงบ้าง เช่น หากเคยลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่สูงมาก อาจ ต้องปรับให้มีอัตราลดลง และ โยกไปลงทุนในประเภทอื่นที่จะทำให้ภาพรวมการลงทุนมีความเสี่ยงลดลง

1.3 คู่สามีภรรยาที่เพิ่งเกษียณอายุในวัย 60
เป็นช่วงอายุที่ต้องเริ่มใช้เงินที่สะสมมาจากการทำงาน ซึ่งเงินจำนวนที่เก็บสะสมมาและที่ได้รับเมื่อ เกษียณอายุนั้น ควรวางแผนการลงทุนให้ดีเพื่อไว้ใช้จ่ายให้ได้นานที่สุด เนื่องจากอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ขึ้นจากวัยทำงาน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น

ดังนั้น การลงทุนสำหรับคนวัยนี้ ควรมีความเสี่ยงต่ำไปจนถึงปานกลางแต่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายประจำ โดยอาจลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นให้น้อยที่สุด แต่ก็ต้องมั่นใจว่าการลงทุน ที่เลือกต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้วย

อย่างไรก็ตาม คุณควรตรวจสอบนโยบายการลงทุนของคุณปีละครั้ง เนื่องจาก ระยะเวลาในการลงทุน ของคุณที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ก็จะลดลงในแต่ละปี และเมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไปคุณอาจคิดต่างออกไป จากเดิมโดยอาจเปลี่ยนแปลงวัตุประสงค์ นโยบายการลงทุนของคุณก็เป็นได้


Web Goodness------GTA VC ----- GTA San Andreas --- Internet Cafe ---Watch Live TV --- GTA Lan Game



รู้จักตนเองก่อนเริ่มลงทุน

การตัดสินใจในการลงทุนของคุณที่ผ่านมาอาจไม่ใช่เรื่องยาก เพราะคุณอาจลงทุนตามวิถีทางเดิม ที่เป็นที่คุ้นเคยกันอย่างดี เช่น การฝากเงิน หรือ อาจเคยลงทุนกับหน่วยลงทุนตามคำชี้ชวนของบุคคลอื่น โดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลการลงทุนที่แท้จริง เนื่องมาจากผู้ขายอาจไม่ได้อธิบายมากนักและทำให้คุณเข้าใจว่า การลงทุนในกองทุนที่เสนอขายไม่มีความเสี่ยงใดๆ ความไม่เข้าใจของคุณในฐานะผู้ลงทุนและของผู้ขาย เองในบางกรณี อาจทำให้คุณลงทุนในสิ่งที่ไม่เหมาะกับวัตถุประสงค์ ระยะเวลาในการลงทุน และ ระดับ ความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้

แต่การลงทุนอาจเป็นเรื่องง่ายมากหากคุณมีโอกาสทำความเข้าใจในตัวคุณเองและสิ่งที่คุณต้องการ จะลงทุน โดยก่อนการลงทุนในแต่ละครั้งคุณควรถามตัวเองว่าคุณมีความเข้าใจในตราสารหรือหลักทรัพย์ ประเภทที่คุณสนใจลงทุนมากน้อยเพียงใด หลักทรัพย์นั้นๆให้ผลตอบแทนอย่างไร ในรูปแบบไหน มี ความเสี่ยงมากน้อยเพียงไร และคุณคิดว่าเหมาะสมกับคุณหรือไม่ หากยังไม่ทราบหรือยังไม่แน่ใจ คุณควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนประเภทนั้นๆ ก่อน

ในกรณีที่คุณสนใจลงทุนกับกองทุนรวม คุณควรอ่านหนังสือชี้ชวนก่อนการตัดสินใจ เพื่อทราบข้อมูล ของกองทุนว่า วัตถุประสงค์ของกองทุนคืออะไร มีนโยบายการลงทุนอย่างไร ผู้จัดการกองทุนนำเงินของ คุณไปลงทุนอะไรบ้าง ได้รับผลตอบแทนในลักษณะไหน วัตถุประสงค์ของกองทุนตรงกับวัตถุประสงค์ ของคุณหรือไม่ เป็นต้น


รู้จักตัวเอง

การกำหนดวัตถุประสงค์
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการลงทุน เป็นการช่วยให้คุณรู้จักตัวเองก่อนการตัดสินใจลงทุนว่า คุณมีความ ต้องการในการลงทุนอย่างไร ต้องการนำผลตอบแทนไปใช้จ่ายเพื่ออะไร หรือ เมื่อไร ซึ่งเมื่อทราบแล้ว จะ สามารถช่วยคุณกำหนดแนวทาง ว่าการลงทุนรูปแบบไหนเหมาะสมกับคุณที่สุด

เข้าใจตัวของคุณเอง


  1. ก่อนอื่น คุณควรทราบวัตถุประสงค์การลงทุนระยะยาวของตนเองว่าเป็นการลงทุนเพื่ออะไรเช่น เพื่อเป็นทุนการศึกษา ของลูกหรือเพื่อเป็นเงินใช้จ่ายเมื่อเกษียณ
  2. คุณรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน
  3. คุณต้องการใช้เงินจำนวนเท่าไรในอนาคต และ จำนวนที่ต้องการนำมาลงทุน
  4. ระยะเวลาของการลงทุน
  5. สิ่งสำคัญที่สุด คือ คุณควรเลือกการลงทุนที่เหมาะกับตัวคุณเอง เช่น หากคุณไม่สามารถรับความเสี่ยง จากการสูญเสียเงินต้น คุณควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้น หรือ กำหนดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นให้เป็น ส่วนน้อยหรือเพียงบางส่วนของเงินลง ทุนทั้งหมด เป็นต้น
คุณเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง การออมกับการลงทุน หรือยัง การออม คือการเก็บสะสมเงินทีละเล็กทีละน้อยให้พอกพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประจำ หรือ ไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ซึ่งการออมส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของเงินฝากธนาคาร (ที่รัฐบาลค้ำประกัน) และ มักได้รับผลตอบแทนน้อย (ในบางช่วงเวลาอาจให้ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ) การลงทุน คือการนำเงินไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยการนำเงินออมบางส่วนมาลงทุน เช่น ลงทุนในพันธบัตรหรือ หลักทรัพย์ต่างๆ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนโดยรวมให้สูงกว่าการออมเพียงอย่างเดียว ซึ่งหมายความถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้น


Web Goodness------GTA VC ----- GTA San Andreas --- Internet Cafe ---Watch Live TV --- GTA Lan Game



กองทุนรวมคืออะไร

 กองทุนรวมคืออะไร

กองเงินทุนที่ผู้ลงทุนนำมาลงทุนในตลาดเงิน ตลาดหุ้น และได้รับผลประโยชน์ตามสัดส่วนของเงินทุนที่ผู้ลงทุนได้ลงทุน โดยมีบริษัทจัดการที่ได้รับใบอนุญาตจัดการลงทุนจากกระทรวงการคลัง เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนภายใต้นโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ของกองทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. และบริษัทจัดการได้จัดทำเป็นหนังสือชี้ชวนแจกจ่ายให้ผู้ลงทุนได้ศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุน นอกจากนี้กองทุนรวมจะมีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการ เป็นตัวแทนของผู้ลงทุน ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุน รวมทั้งนายทะเบียนกองทุนดูแลทะเบียนรายชื่อ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของผู้ลงทุน และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของกองทุนรวม

ดังนั้นผู้ลงทุนในกองทุนรวมสามารถมั่นใจได้ว่าเงินลงทุนในกองทุนรวมจะเป็นไปตามนโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ของกองทุนตามหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามที่ผู้ลงทุนต้องการ และจะทำให้ผู้ลงทุนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมนั้น อีกทั้งกองทุนรวมยังเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทจัดการ

ความเสี่ยงของผู้ลงทุน

ผู้ลงทุนส่วนมากมักเข้าใจว่า ความเสี่ยงในการลงทุนคือ ความเสี่ยงในการสูญเสียเงินต้นเพียง อย่างเดียว แต่ที่จริงแล้วความเสี่ยงมีหลายประเภทและการลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยงทั้งสิ้น แต่อาจมากน้อยต่างกันไป ดังคำกล่าวที่ว่า ความเสี่ยงสูงผลตอบแทนที่คาดหวังก็สูง ความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนที่คาดหวังก็จะต่ำ

ประเภทของความเสี่ยงหลักๆ ในการลงทุนมี ดังนี้



  • ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก (Pervasive risk)
    ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สภาวะเศรษฐกิจ ปัจจัยทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ


  • ความเสี่ยงของบริษัท (Company risk)
    เกิดขึ้นกับมูลค่าหุ้นของแต่ละบริษัท ซึ่งอาจเกิดจากผลประกอบการของบริษัทเองหรือภาพรวมของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป


  • ความเสี่ยงด้านเครดิตหรือการผิดนัดชำระหนี้ (Credit risk or Default risk)
    ความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทที่กู้เงินไปลงทุน ว่าจะสามารถนำเงินมาจ่ายดอกเบี้ยและ เงินต้นคืนตามกำหนดระยะเวลาหรือไม่ ซึ่งหากมีการผิดชำระหนี้จริง กองทุนอาจเกิดผลขาดทุนจากการลงทุนในหุ้นกู้นั้นๆได้


  • ความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ย (Interest rate risk)
    เกิดขึ้นจากการที่อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดเปลี่ยนแปลง ทำให้มีผลกระทบต่อราคาของตราสารหนี้ หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ราคาพันธบัตรหรือหุ้นกู้ก็จะสูงขึ้น แต่หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น ราคาพันธบัตรหรือหุ้นกู้ก็จะลดลง เช่น เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น ผู้ขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้จะต้องเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากเดิม ทำให้ราคาของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ลดลง หรือเกิดผลขาดทุนนั่นเอง


  • ความเสี่ยงผลตอบแทนในรูปรายได้ (Income risk)
    เกิดจากการที่รายได้หรือผลตอบแทนลดต่ำลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำลง โดยจะไม่มีผลกระทบมาถึงส่วนของเงินต้น เช่น การฝากเงิน หรือ การลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงิน


  • ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity risk)
    เกิดจากสภาวะในการซื้อขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเมื่อต้องการขาย เช่น หาผู้รับซื้อต่อยากหรือหากมีผู้รับซื้ออาจต้องขายในราคาที่ถูกลง


  • ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country risk)
    เกิดจากกองทุนรวมลงทุนในประเทศเหล่านั้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในประเทศเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี การเปลียนนโยบายประเทศ อาจทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ หรือทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำเงินเข้าออกประเทศ


Web Goodness------GTA VC ----- GTA San Andreas --- Internet Cafe ---Watch Live TV --- GTA Lan Game



อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งกับธนาคารไทย

ปัจจุบันวงการธนาคารในบ้านเราค่อนข้างตื่นตัวและให้ความสนใจกับการ ออกบริการใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้เลือกใช้อยู่เสมอ จนกระทั่งบางครั้งลูกค้าเกิดอาการ "งง" เพราะเลือกไม่ถูกว่าจะใช้บริการไหนดี ตัวอย่างเช่น หากท่านเดินเข้าไป ที่ธนาคารแห่งหนึ่ง แล้วถามว่า "หากผมต้องการเปิดบัญชีออมทรัพย์ซักหนึ่งบัญชี ไม่ทราบว่าธนาคารของคุณมีบัญชีออมทรัพย์ประเภทไหนบ้างครับ"

ผมเชื่อได้เลยว่าเกือบทุกธนาคาร จะมีบัญชีออมทรัพย์ให้คุณเลือกอย่างน้อย 2 ประเภท เช่น ออมทรัพย์แบบปกติ กับออมทรัพย์แบบมีประกันชีวิตในตัว แต่ในจำนวนบริการใหม่ๆ ของธนาคารที่น่าจับตามองและได้รับการกล่าวถึง ค่อนข้างมากในขณะนี้คงหนีไม่พ้น
"อิเล็กทรอนิกส์แบงกิ้ง (Electronic Banking)" หรือ "อีแบงกิ้ง (E-Banking)" หรือ "ไซเบอร์แบงกิ้ง (Cyber Banking)


ความหมายที่แตกต่าง
ดังที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น แม้จะมีผู้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งแตกต่างกัน หลายคน เข้าใจเหมือนกันว่าคือแม้ว่าแต่ละธนาคารจะเรียกชื่อบริการที่แตกต่างกันแต่มี ความหมายเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่ท่านคิด

ทั้งนี้เพราะแต่ละคำมีความหมายที่ลึกซึ้งแตกต่างกัน หากท่านเข้าใจไม่ถูกต้อง และนำไปใช้พูดคุยกับบุคคลอื่นอาจทำให้ผู้ที่ท่านพูดคุยด้วยไม่เข้าใจความหมาย หรือเข้าใจความหมายที่คลาดเคลื่อนซึ่งท่านจะต้องรับหน้าที่ขยายความเพื่อให้ เข้าใจตรงกัน ดังนั้น ผมขออธิบายความหมายของแต่ละคำดังนี้

อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง (Internet Banking) หมายถึงธนาคารที่ให้บริการ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อีแบงกิ้ง (E-Banking) หมายถึงธนาคารที่ให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต
ไซเบอร์แบงกิ้ง (Cyber Banking) หมายถึงธนาคารที่ให้บริการผ่าน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ออนไลน์

หลายท่านอาจจะเกิดคำถามว่า
"ทำไมไม่เรียกให้เหมือนกันไปเลย เพื่อให้ผู้ใช้ บริการไม่สับสน" ซึ่งผมขออธิบายในแง่ของการทำตลาดและโฆษณาผู้ส่งสื่อ (ธนาคาร) สามารถหยิบยืมหรือใช้คำใดๆ มาใช้เพื่อสร้างจุดเด่นให้กับสินค้าหรือ บริการของตน ขณะเดียวกันจะต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้รับสื่อ (ลูกค้า) ด้วย เพราะผู้รับสื่อย่อมมีภูมิความรู้ที่แตกต่างกัน เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ ผมไปธนาคารแห่งหนึ่งเพื่อเปิดบัญชีออมทรัพย์ ขณะนั้นมีลูกค้า รายหนึ่งเดินมาที่โต๊ะแล้วถามพนักงานว่า "อยากจะใช้บริการอีแบงกิ้งของธนาคาร จะต้องทำอย่างไรบ้าง" พนักงานตอบฉะฉานว่า "ขอโทษค่ะธนาคารเราไม่มีบริการ อีแบงกิ้งในตอนนี้ แต่จะมีบริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งในกลางปีนี้ค่ะ" ท่านว่าจะมี ลูกค้ากี่คนที่เข้าใจความหมายของเรื่องที่คุยกัน????

ความเปลี่ยนแปลงในเอเชีย
ธนาคารในหลายประเทศได้เริ่มดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมานานแล้ว เช่น ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งถือว่าเป็นกรณีศึกษาสำคัญ โดยในสิงคโปร์นั้น ธนาคารใหญ่ๆ ล้วนเปิดให้บริการนี้กันมาเป็นปีแล้ว เช่น UOB, OUB และ OCBC แต่ที่ขณะนี้ที่ได้รับการจับตามองจากนายธนาคารในภูมิภาคนี้มากที่สุด คือ การเปิดตัวของ Japan Net Bank (http://www.japannetbank.net) ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศญี่ปุ่นที่ประกอบกิจการทั้งหมดแบบออนไลน์ ภายใต้การนำของนายโยชิยูกิ มิยาอิ (กรรมการผู้จัดการใหญ่) ธนาคารแห่งนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ปัจจุบันมีลูกค้า ประมาณ 40,000 บัญชี และกว่าครึ่งมีอายุอยู่ในช่วงประมาณ 30-34 ปี ตามแผน การดำเนินงานนั้น ทาง Japan Net Bank คาดว่าจะมีลูกค้าประมาณ 1,000,000
ล้านบัญชีในปี 2003 ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือว่าเป็นการปฏิวัติธุรกิจ ธนาคารอย่างถอนรากถอนโคนทีเดียว เพราะคนญี่ปุ่นมีพฤติกรรมไม่ค่อยยอมรับ การใช้บัตรเครดิตและการทำธุรกรรมการเงินแบบออนไลน์ก็ต้องติดตามกันต่อว่า Japan Net Bank จะสามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด

ภัยทุจริตทางอินเทอร์เน็ตประเภท Phishing

Phishing คือ วิธีที่กลุ่มมิจฉาชีพใช้ในการโจรกรรมข้อมูล อาศัยรูปแบบของการปลอมแปลงอีเมล์ แอบอ้างมาจากสถาบันการเงิน และ
แนบ
link สร้างเว็บไซท์ปลอมที่เลียนแบบให้คล้ายคลึงกับเว็บไซท์จริง มุ่งหลอกลวงให้ผู้รับอีเมล์เข้าใจผิด หลงเชื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
ทางด้านการเงิน หรือข้อมูลสำคัญอื่นๆ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต บัญชีผู้ใช้บริการและรหัสผ่าน ข้อมูลรหัสบัตรเอทีเอ็ม ข้อมูลบัตรประจำตัว
ประชาชน หมายเลขประกันสังคม และอื่นๆ เพื่อกลุ่มมิจฉาชีพจะได้สามารถนำข้อมูลนั้นไปกระทำการทุจริตฉ้อโกงต่างๆ

ส่วนใหญ่
Phishing จะใช้กลยุทธทางด้านจิตวิทยา โดยสร้างความเชื่อถือและจุดสนใจ หรือประเด็นสำคัญเร่งด่วน อาทิเช่น ส่งอีเมล์แจ้งว่า
เป็นเรื่องเร่งด่วนจากธนาคาร แจ้งปิดบัญชีลูกค้า แจ้งเรื่องบัตรเครดิตหมดอายุ แจ้งขอสำรวจข้อมูลลูกค้า การเสนอโปรโมชั่นพิเศษ เพื่อ
หลอกลวงให้ลูกค้าหลงเชื่อ ป้อนข้อมูลส่วนตัวบนหน้าจอ หรือทำรายการไปยังเว็บไซท์อื่น เป็นต้น


ข้อแนะนำเพื่อการป้องกัน



  • ผู้ใช้บริการ ควรดูแลและป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้ปลอดภัยที่สุด
  • ควรตรวจสอบความถูกต้องของรายการธุรกรรมทางการเงิน และยอดเงินในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันรายการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
  • ถ้าไม่มั่นใจกับอีเมล์ที่ได้รับ หรืออีเมล์ที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย ควรยกเลิกลบทิ้ง ไม่ควรป้อนข้อมูล หรือตอบกลับอีเมล์นั้น
  • ไม่ควรคลิก Link อำนวยความสะดวกที่แนบมาในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ อนึ่งเพื่อความมั่นใจในการใช้งานอย่างปลอดภัย ควรพิมพ์
    address ของเว็บไซท์ที่ท่านสนใจเข้าเยี่ยมชมด้วยตนเองเท่านั้น

หลีกเลี่ยงการรันโปรแกรมที่ส่งมาพร้อมกับอีเมล์ เนื่องจากอาจเป็นโปรแกรมประสงค์ร้ายที่แฝงเข้ามาดักจับข้อมูลส่วนตัวสำคัญของท่าน
หรือก่อกวนทำลายระบบข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านได้