อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งกับธนาคารไทย

ปัจจุบันวงการธนาคารในบ้านเราค่อนข้างตื่นตัวและให้ความสนใจกับการ ออกบริการใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้เลือกใช้อยู่เสมอ จนกระทั่งบางครั้งลูกค้าเกิดอาการ "งง" เพราะเลือกไม่ถูกว่าจะใช้บริการไหนดี ตัวอย่างเช่น หากท่านเดินเข้าไป ที่ธนาคารแห่งหนึ่ง แล้วถามว่า "หากผมต้องการเปิดบัญชีออมทรัพย์ซักหนึ่งบัญชี ไม่ทราบว่าธนาคารของคุณมีบัญชีออมทรัพย์ประเภทไหนบ้างครับ"

ผมเชื่อได้เลยว่าเกือบทุกธนาคาร จะมีบัญชีออมทรัพย์ให้คุณเลือกอย่างน้อย 2 ประเภท เช่น ออมทรัพย์แบบปกติ กับออมทรัพย์แบบมีประกันชีวิตในตัว แต่ในจำนวนบริการใหม่ๆ ของธนาคารที่น่าจับตามองและได้รับการกล่าวถึง ค่อนข้างมากในขณะนี้คงหนีไม่พ้น
"อิเล็กทรอนิกส์แบงกิ้ง (Electronic Banking)" หรือ "อีแบงกิ้ง (E-Banking)" หรือ "ไซเบอร์แบงกิ้ง (Cyber Banking)


ความหมายที่แตกต่าง
ดังที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น แม้จะมีผู้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งแตกต่างกัน หลายคน เข้าใจเหมือนกันว่าคือแม้ว่าแต่ละธนาคารจะเรียกชื่อบริการที่แตกต่างกันแต่มี ความหมายเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่ท่านคิด

ทั้งนี้เพราะแต่ละคำมีความหมายที่ลึกซึ้งแตกต่างกัน หากท่านเข้าใจไม่ถูกต้อง และนำไปใช้พูดคุยกับบุคคลอื่นอาจทำให้ผู้ที่ท่านพูดคุยด้วยไม่เข้าใจความหมาย หรือเข้าใจความหมายที่คลาดเคลื่อนซึ่งท่านจะต้องรับหน้าที่ขยายความเพื่อให้ เข้าใจตรงกัน ดังนั้น ผมขออธิบายความหมายของแต่ละคำดังนี้

อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง (Internet Banking) หมายถึงธนาคารที่ให้บริการ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อีแบงกิ้ง (E-Banking) หมายถึงธนาคารที่ให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต
ไซเบอร์แบงกิ้ง (Cyber Banking) หมายถึงธนาคารที่ให้บริการผ่าน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ออนไลน์

หลายท่านอาจจะเกิดคำถามว่า
"ทำไมไม่เรียกให้เหมือนกันไปเลย เพื่อให้ผู้ใช้ บริการไม่สับสน" ซึ่งผมขออธิบายในแง่ของการทำตลาดและโฆษณาผู้ส่งสื่อ (ธนาคาร) สามารถหยิบยืมหรือใช้คำใดๆ มาใช้เพื่อสร้างจุดเด่นให้กับสินค้าหรือ บริการของตน ขณะเดียวกันจะต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้รับสื่อ (ลูกค้า) ด้วย เพราะผู้รับสื่อย่อมมีภูมิความรู้ที่แตกต่างกัน เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ ผมไปธนาคารแห่งหนึ่งเพื่อเปิดบัญชีออมทรัพย์ ขณะนั้นมีลูกค้า รายหนึ่งเดินมาที่โต๊ะแล้วถามพนักงานว่า "อยากจะใช้บริการอีแบงกิ้งของธนาคาร จะต้องทำอย่างไรบ้าง" พนักงานตอบฉะฉานว่า "ขอโทษค่ะธนาคารเราไม่มีบริการ อีแบงกิ้งในตอนนี้ แต่จะมีบริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งในกลางปีนี้ค่ะ" ท่านว่าจะมี ลูกค้ากี่คนที่เข้าใจความหมายของเรื่องที่คุยกัน????

ความเปลี่ยนแปลงในเอเชีย
ธนาคารในหลายประเทศได้เริ่มดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมานานแล้ว เช่น ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งถือว่าเป็นกรณีศึกษาสำคัญ โดยในสิงคโปร์นั้น ธนาคารใหญ่ๆ ล้วนเปิดให้บริการนี้กันมาเป็นปีแล้ว เช่น UOB, OUB และ OCBC แต่ที่ขณะนี้ที่ได้รับการจับตามองจากนายธนาคารในภูมิภาคนี้มากที่สุด คือ การเปิดตัวของ Japan Net Bank (http://www.japannetbank.net) ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศญี่ปุ่นที่ประกอบกิจการทั้งหมดแบบออนไลน์ ภายใต้การนำของนายโยชิยูกิ มิยาอิ (กรรมการผู้จัดการใหญ่) ธนาคารแห่งนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ปัจจุบันมีลูกค้า ประมาณ 40,000 บัญชี และกว่าครึ่งมีอายุอยู่ในช่วงประมาณ 30-34 ปี ตามแผน การดำเนินงานนั้น ทาง Japan Net Bank คาดว่าจะมีลูกค้าประมาณ 1,000,000
ล้านบัญชีในปี 2003 ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือว่าเป็นการปฏิวัติธุรกิจ ธนาคารอย่างถอนรากถอนโคนทีเดียว เพราะคนญี่ปุ่นมีพฤติกรรมไม่ค่อยยอมรับ การใช้บัตรเครดิตและการทำธุรกรรมการเงินแบบออนไลน์ก็ต้องติดตามกันต่อว่า Japan Net Bank จะสามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด